Free Trade Area of the Asia-Pacific: FTA-AP
Free Trade Area of the Asia-Pacific: FTA-AP
การขับเคลื่อนการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific: FTA-AP)
การขับเคลื่อนการจัดทําความตกลงการค้าเสรีเอเชีย แปซิฟิก (FTAAP) ในช่วงโควิด - 19 และอนาคต (Symposium on FTAAP in the COVID - 19 pandemic and beyond) ภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (APEC Ministers Responsible for Trade Meeting 2022: MRT) ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย - แปซิฟิก (APEC) ซึ่งประกอบด้วย 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ฮ่องกง นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย จีนไทเป ชิลี เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี เปรู รัสเซีย และเวียดนาม ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคี และสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก ลดอุปสรรคและส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้า การค้าบริการระหว่างกัน โดยยึดแนวทางดำเนินการที่สอดคล้องกับหลัง WTO
โดย APEC ได้ระบุ เรื่องขับเคลื่อนสู่ FTAAP ไว้ใน“วิสัยทัศน์ปุตราจายา” ของเอเปค พ.ศ. 2583 (2040) และในแผนปฏิบัติการ “เอาทีอารอ” (Aotearoa Plan of Action) ที่เป็นกรอบการทำงานของ APEC เอเปคในอีก 20 ปีข้างหน้า
ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพได้กำหนดธีมหลักในการประชุมเอเปคในปีนี้ คือ “Open. Connect. Balance”
OPEN คือการเปิดกว้างไปสู่ทุกโอกาสด้านการค้าการลงทุน และการส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจและการขับเคลื่อนการจัดทำ FTAAP ผ่านมุมมองใหม่ที่เรียนรู้จากสถานการณ์โควิด-19 เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ทุกภาคส่วนในสังคม ส่วน CONNECT คือการเชื่อมโยงในทุกมิติโดยเฉพาะการฟื้นฟูการเดินทางระหว่างกันที่สะดวกและปลอดภัย รวมทั้งความเชื่อมโยงทางดิจิทัลและห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค และสุดท้าย BALANCE คือการสร้างสมดุลของการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างรอบด้าน ผ่านการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ โดยประเด็นสำคัญคือการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสร้างความมั่นคงทางอาหาร การเกษตร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
นอกจากนี้ ประเทศไทยได้นำโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียวหรือที่เรียก BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) มาเป็นแนวทาง หรือแนวคิดหลักในการขับเคลื่อน SMEs และ Micro SMEs ของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ
การขับเคลื่อนการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย - แปซิฟิก (FTAAP) เป็นการรวมพลังขับเคลื่อนจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มเขตเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก 21 เขตเศรษฐกิจ ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2040 หากสำเร็จจะกลายเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยได้มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของ APEC ในภาพรวมจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระดับปานกลาง GDP ของเอเปค ขยายตัวร้อยละ 5.9 ในปี 2564 และจะขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 4.2ในปี 2022 และน่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 ในปี 2023
APEC เนื่องจากมีประชากรรวมกันถึง 2,900 ล้านคน คิดเป็น 38% ของประชากรโลกและจะมี GDP คิดเป็นร้อยละ 62 ของ GDP โลกมีมูลค่าประมาณ 52 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1,768 ล้านล้านบาท มูลค่าการค้าจาก 21 เขตเศรษฐกิจ มีมูลค่า 608 ล้านล้านบาท หรือ 18 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และคาดการณ์ว่ามูลค่าการค้าในกลุ่ม 21 เขตเศรษฐกิจ จะเพิ่มขึ้นประมาณ 200-400% สำหรับประเทศไทยปัจจุบันเรามีมูลค่าการค้ากับ 21 เขตเศรษฐกิจ 12.2 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็น 385,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าเป็น FTAAP ในปี 2040 จริง จะขยายตัว 200-400%เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าที่ผ่านมา FTAAP ยังคงมีความคืบหน้าไม่มากนัก แต่เนื่องจากในปี 2022 นี้ ประเทศไทยได้มีโอกาสได้เป็นเจ้าภาพต่อจากนิวซีแลนด์ จึงได้กำหนดTheme สำคัญในการประชุมเอเปคครั้งนี้ไว้ 3 เป้าหมาย ประกอบด้วย “Open. Connect. Balance.” คือ การที่เราจะเปิดกว้างให้มีการเคลื่อนไหวทางการค้าการลงทุนระหว่างกันของกลุ่มเศรษฐกิจเอเปค การเชื่อมโยงทางการค้าการลงทุนทั้งภาคการผลิต ห่วงโซ่การผลิต การตลาดร่วมกันในกลุ่มเขตเศรษฐกิจเอเปค และสร้างสมดุลทั้งในสิ่งแวดล้อมและการค้าการลงทุนให้ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจได้ประโยชน์ร่วมกัน และประเทศไทยเตรียมขับเคลื่อนประเด็นนี้ต่อเนื่องในการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC 2022 ในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้
ข้อดี FTA-AP
ข้อสังเกต FTA-AP
24 กรกฎาคม 2565
ผู้ชม 83 ครั้ง